เมนู

อถ อคฺคิ ทิวารตฺตึ ตตฺถ ตตฺถ ปภาสติ
สมฺพุทฺโธ ตปตํ เสฏฺโฐ เอสา อาภา อนุตตรา.

แสงสว่างในโลกมี 4 ไม่มีข้อที่ 5 คือดวงอาทิตย์
ส่องสว่างกลางวัน ดวงจันทร์ส่องสว่างกลางคืน ส่วน
ไฟส่องสว่างในที่นั้น ๆ ทั้งกลางวันกลางคืน พระ-
สัมพุทธเจ้าทรงประเสริฐสุดแห่งแสงสว่าง แสงสว่าง
นี้ยอดเยี่ยม.

เพราะฉะนั้น จึงอธิบายว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งความแล่นซ่านแห่งพระรัศมี
ทางพระสรีระและทางพระปัญญาแม้ทั้งสองประการ. บทว่า อนฺติมเทหธาริโน
ได้แก่ ผู้ทรงพระสรีระสุดท้ายที่สุด. อธิบายว่าไม่เกิดอีก.
จะวินิจฉัยในบทว่า ตถาคตสฺส นี้ ดังนี้ :-
พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเรียกว่า

ตถาคต

ด้วยเหตุ 8 ประการ อะไร
บ้าง คือ
1. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาแล้วอย่างนั้น
2. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น
3. ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงถึงลักษณะที่แท้
4. ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้ตามเป็นจริง
5. ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นแต่ความจริง
6. ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสแต่คำจริง
7. ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงทำจริง
8. ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ทรงครอบงำ.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะเสด็จมาแล้วอย่างนั้น
เป็นอย่างไร.
ตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธ-
เจ้าเป็นต้น ทรงบำเพ็ญทานบารมี ทรงบำเพ็ญศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญา
บารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมีและอุเบก-
ขาบารมี ทรงบำเพ็ญบารมี 30 ทัศ คือบารมี 10 เหล่านี้ อุปบารมี 10 ปรมัตถ-
บารมี 10 ทรงสละมหาบริจาค 5 เหล่านี้ คือบริจาคอวัยวะ บริจาคชีวิต
บริจาคทรัพย์ บริจาคราชสมบัติ บริจาคบุตรภรรยา เสด็จมาแล้วด้วยอภินิหาร
ใดอย่างใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลายก็เสด็จมาแล้ว ด้วยอภินิหาร
นั้น อย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าตถาคต เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ยเถว โลกมฺหิ วิปสฺสิอาทโย
สพฺพญฺญภาวํ มุนโย อิธาคตา
ตถา อยํ สกฺยมุนีปิ อาคโต
ตถาคโต วุจฺจติ เตน จกฺขุมา.

พระมุนีทั้งหลาย มีพระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น
เสด็จมาสู่พระสัพพัญญุตญาณในโลกนี้ อย่างใด แม้
พระสักยมุนีพระองค์นี้ก็เสด็จมาอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระจักษุ ท่านจึงเรียกว่าตถาคต.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วอย่าง
นั้นเป็นอย่างไร.
ตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น ประสูติ
ได้ชั่วเดี๋ยวเดียว ก็ประทับยืนที่แผ่นดิน ด้วยพระบาทอันเสมอกัน บ่ายพระ-

พักตร์ทางทิศอุดร เสด็จไปด้วยย่างพระบาท 7 ย่างก้าว อย่างใด พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จไปอย่างนั้น เหตุนั้นจึงชื่อว่าตถาคต เหมือน
อย่างที่ท่านกล่าวว่า
มุหุตฺตชาโตว ควมฺปตี ยถา
สเมหิ ปาเทหิ ผุสี วสุนฺธรํ
โส วิกฺกมี สตฺตปทานิ โคตโม
เสตญฺจ ฉตฺตํ อนุธารยุํ มรู.

คนฺตฺวาน โส สตฺถปทานิ โคตโม
ทิสา วิโลเกสิ สมา สมนฺตโต
อฏฺฐงฺคุเปตํ คิรมพฺภุทีรยี
สีโห ยถา ปพฺพตมุทฺธนิฏฺฐฺโต.

โคจ่าฝูง เกิดได้ครู่เดียว ก็สัมผัสพื้นแผ่นดิน
ด้วยเท้าที่เสมอกัน ฉันใด พระโคดมพระองค์นั้นก็ย่าง
พระบาท 7 ย่างก้าว และทวยเทพก็กั้นเศวตฉัตร
ฉันนั้น. พระโคดมพระองค์นั้น ครั้นเสด็จ 7 ย่างก้าว
แล้ว ทรงเหลียวดูทิศเสมอกันโดยรอบ ทรงเปล่ง
อาสภิวาจา ประกอบด้วยองค์ 8 เหมือนพระยาสีหะ
ยืนหยัดเหนือยอดขุนเขาฉะนั้น.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะทรงถึงลักษณะที่แท้
เป็นอย่างไร.

ตอบว่า ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงมาถึง บรรลุไม่ผิดพลาดรู้ตาม
ลักษณะของตนเอง และลักษณะที่เสมอทั่วไป อันถ่องแท้ แท้จริง ของรูปธรรม
และอรูปธรรมทั้งปวง ด้วยญาณคติ.
สพฺเพสํ ปน ธมฺมานํ สกสามญฺญลกฺขณํ
ตถเมวาคโต ยสฺมา ตสฺมา สตฺถา ตถาคโต.

เพราะเหตุที่ทรงบรรลุถึงลักษณะตนและลักษณะ
ทั่วไปอันแท้จริงของธรรมทั้งปวง ฉะนั้น พระศาสดา
จึงชื่อว่าตถาคต.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมอันแท้
ตามความเป็นจริง เป็นอย่างไร.
ตอบว่า อริยสัจ 4 ชื่อว่าธรรมแท้. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 เหล่านี้เป็นของแท้เป็นของจริง ไม่เป็นอย่างอื่น
อริยสัจ มีอะไรบ้าง คืออริยสัจที่ว่า นี้ทุกข์ เป็นของแท้เป็นของจริง ไม่เป็น
อย่างอื่น ฯ ล ฯ พึงทราบความพิศดาร. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้อริยสัจ 4
เหล่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมอันแท้.
ความจริง คตศัพท์ในคำว่า ตถาคโต นี้มีอรรถว่า ตรัสรู้.
ตถนามานิ สจฺจานิ อภิสมฺพุชฺฌิ นายโก
ตสฺมา ตถานํ สจฺจานํ สมฺพุทฺธตฺตา ตถาคโต.

พระผู้นายกตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย ที่เป็นของแท้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสรู้สัจจะ
ทั้งหลายที่เป็นของแท้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะทรงเห็นแต่ความจริง
เป็นอย่างไร
ตอบว่า แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตถาคตย่อมทรงรู้ ทรงเห็น
อารมณ์คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมะ ที่มาปรากฏในทวารคือ ตา
หู จมูก ลิ้น กาย และใจของสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ ในโลกธาตุที่ไม่มี
ประมาณโดยอาการทั้งปวง เหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นแต่
ความจริงอย่างนั้น. อีกนัยหนึ่ง ทรงแสดงแต่สิ่งที่แท้ในโลก แก่โลก. อย่าง
นั้นเท่านั้น แม้เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่า ตถาคต ในที่นี้
พึงทราบความหมายแห่งบทว่า ตถาคต ในอรรถว่าทรงเห็นแต่ความจริงแท้.
ตถากาเรน โย ธมฺเม ชานาติ อนุปสฺสติ
ตถทสฺสีติ สมฺพุทโธ ตสฺมา วุตฺโต ตถาคโต.

ท่านผู้ใด ย่อมรู้ย่อมเห็นธรรมทั้งหลายโดย
อาการที่แท้จริง ท่านผู้นั้น ชื่อว่าผู้เห็นแต่ความจริง
เพราะฉะนั้น ท่านผู้รู้จริงดังว่า จึงเรียกว่าตถาคต.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสแต่คำจริง
เป็นอย่างไร
ตอบว่า ก็คำใดที่สงเคราะห์เป็นนวังคสัตถุศาสตร์มีสุตตะเป็นต้น อัน
พระตถาคตภาษิตดำรัสไว้ตลอดกาลประมาณ 45 พรรษา ระหว่างตรัสรู้และ
ปรินิพพาน คำนั้นทั้งหมดเป็นคำแท้ ไม่เท็จเลย ดุจชั่งได้ด้วยตาชั่งอันเดียว.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ดูก่อนจุนทะ ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิ-
ญาณ ณ ราตรีใด ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน-

ธาตุ ณ ราตรีใด ในระหว่างนี้ตถาคตภาษิตกล่าว ชี้แจง
คำใดไว้ คำนั้นทั้งหมด เป็นคำแท้จริงอย่างเดียว ไม่
เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นจึงเรียกกันว่า ตถาคต.

ก็ในคำว่า ตถาคต นี้ คตศัพท์มีอรรถว่ากล่าวชัดเจน. ชื่อว่าตถาคต
เพราะตรัสแต่คำจริงอย่างนี้ การกล่าวชัดเจน ชื่อว่า อาคทะ อธิบายว่า
พระดำรัส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นของแท้ไม่วิปริต
เหตุนั้นจึงชื่อว่า ตถาคต ท่านกล่าวเอา ท เป็น ต.
ตถาวาที ชิโน ยสฺมา ตถธมฺมปฺปกาสโก
ตถามาคทนญฺจสฺส ตสฺมา พุทฺโธ ตถาคโต.

เพราะเหตุที่ พระชินพุทธเจ้า ตรัสแต่คำจริง
ทรงประกาศธรรมที่แท้จริง และพระดำรัสของพระ-
องค์ก็เป็นคำจริง ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าตถาคต.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงทำจริง เป็น
อย่างไร.
ตอบว่า ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระวาจาใด ๆ ก็ทรง
ทำพระวาจานั้น ๆ ด้วยพระกาย คือพระกายก็อนุโลมตามพระวาจา ทั้งพระ-
วาจาก็อนุโลมตามพระกาย ด้วยเหตุนั้นนั่นแล จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตกล่าวอย่างใด ก็ทำ
อย่างนั้น ตถาคตทำอย่างใด ก็กล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ตถาคต.

อนึ่ง พระวาจาไปอย่างใด แม้พระกายก็ไปอย่างนั้น พระกายไป
อย่างใด แม้พระวาจาก็ไปอย่างนั้น. ชื่อว่า ตถาคตเพราะทรงทำจริง ด้วย
ประการฉะนี้.

ยถา วาจา คตา ตสฺส ตถา กาโย คโต ยโต
ตถาวาทิตา สมฺพุทฺโธ สตฺถา ตสฺมา ตถาคโต.

เพราะเหตุที่พระวาจาของพระองค์ไปอย่างใด
พระกายก็ไปอย่างนั้น เพราะตรัสแต่คำจริง ฉะนั้น
พระศาสดาผู้ตรัสรู้จริง จึงชื่อว่าตถาคต.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ครอบงำ
เป็นอย่างไร.
ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครอบงำสัตว์ทั้งปวง เบื้องบน
ถึงภวัคคพรหม. เบื้องขวาง ในโลกธาตุที่หาประมาณมิได้ เบื้องล่าง ก็มีอเวจี
มหานรกเป็นที่สุดด้วยศีลบ้าง สมาธิบ้าง ปัญญาบ้าง วิมุตติบ้าง วิมุตติญาณ-
ทัสสนะบ้าง ไม่มีเครื่องชั่งหรือเครื่องนับสำหรับพระองค์ ที่แท้พระองค์ก็ชั่ง
ไม่ได้ นับไม่ได้ ยอดเยี่ยม. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้ครอบงำ ไม่มี
ใครครอบงำ เป็นผู้เห็นถ่องแท้ เป็นผู้มีอำนาจ ฯ ล ฯ
ในโลกทั้งเทวโลก เพราะฉะนั้น จึงเรียกกันว่า ตถาคต.

พึงทราบความสำเร็จความแห่งบท ในบทว่าตถาคโตนี้ ดังกล่าวมา
ฉะนี้ อานุภาพ เปรียบเหมือนยา. ก็นั่นคืออะไรเล่า คือความงดงามแห่ง
เทศนา และกองบุญ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นแพทย์
ผู้มีอานุภาพมาก ทรงครอบงำผู้มีลัทธิตรงข้ามทั้งหมด และครอบงำโลกพร้อม
ทั้งเทวโลก ด้วยอานุภาพนั้น เหมือนหมองูครอบงำงูทั้งหลาย ด้วยยาทิพย์
ฉะนั้น ดังนั้น อานุภาพ คือความงดงามแห่งเทศนาและกองบุญ ที่ไม่วิปริต
เพราะครอบงำโลกได้หมดของพระองค์มีอยู่ เหตุนั้น พระองค์จึงควรทราบว่า
ตถาคต เพราะทำ ท อักษร เป็น ต อักษร. ชื่อว่าตถาคตเพราะอรรถว่าครอบงำ
ด้วยประการฉะนี้.

ตโถ อวิปรีโต จ อคโท ยสฺส สตฺถุโน
วสวฺตีติ โส เตน โหติ สตฺถา ตถาคโต.

ศาสดาพระองค์ใด ทรงมีอานุภาพแท้ไม่วิปริต
ศาสดาพระองค์นั้น เป็นผู้มีอำนาจ เพราะฉะนั้น
พระศาสดาพระองค์นั้น จึงชื่อว่า ตถาคต.

บทว่า อปฺปฏิปุคฺคลสฺส ได้แก่ปราศจากบุคคลที่จะเปรียบได้.
บุคคลอื่นไรเล่า ชื่อว่า สามารถให้คำปฏิญาณรับรองว่าเราเป็นพุทธะ ไม่มี
สำหรับพระตถาคตนั้นเหตุนั้น พระตถาคตนั้น จึงชื่อว่าไม่มีบุคคลเปรียบได้.
แก่พระตถาคต ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบได้พระองค์นั้น.
บทว่า อุปฺปชฺชิ แปลว่า อุบัติแล้ว เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า การุญฺญตา
ได้แก่ ความมีแห่งกรุณา ชื่อว่า การุญฺญตา. คำว่า สพฺพสตฺเต เป็นคำกล่าว
ครอบคลุมถึงสัตว์ไม่เหลือเลย. อธิบายว่าหมู่สัตว์ทั้งสิ้น. คาถาแม้นี้ มีความที่
กล่าวมาด้วยกถามีประมาณเท่านี้.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพรหมทูลอาราธนาเพื่อทรงแสดง
ธรรมแล้ว ทรงยังพระมหากรุณาให้เกิดในสัตว์ทั้งหลาย มีพุทธประสงค์จะทรง
แสดงธรรม จึงตรัสพระคาถาแก่พรหมทั้งหลายว่า
ดูก่อนพรหม ประตูทั้งหลายแห่งอมตนคร เรา
เปิดสำหรับท่านแล้วละ ขอเหล่าสัตว์ที่มีโสตประสาท
จงปล่อยศรัทธาออกมาเถิด แต่ก่อนเราสำคัญว่าจะ
ลำบากเปล่าจึงไม่กล่าวธรรมอันประณีตที่ชำนาญใน
หมู่มนุษย์.

ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมรู้ว่าเราอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิด
โอกาสเพื่อทรงแสดงธรรมแล้ว จึงประคองอัญชลี อันรุ่งเรืองด้วยทศนัขสโมธาน

ขึ้นเหนือเศียร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทำประทักษิณ อันหมู่พรหม
แวดล้อมเสด็จกลับไป. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นประทานปฏิญาณแก่
พรหมนั้นแล้วทรงพระดำริว่า เราควรจะแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ทรงเกิด
ความคิดว่า อาฬารดาบสเป็นบัณฑิต ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน ทรงสำ-
รวจทบทวนก็ทรงทราบว่าอาฬารดาบสนั้น ทำกาละได้ 7 วันแล้วและทรงทราบ
ว่าอุทกดาบสทำกาละแล้วตอนพลบค่ำ ก็ทรงนึกถึงปัญจวัคคีย์อีกว่า บัดนี้ ภิกษุ
ปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ ก็ทรงทราบว่า อยู่ที่ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน กรุง
พาราณสี พอราตรีสว่างวันเพ็ญอาสาฬหะเช้าตรู่ ก็ทรงถือบาตรจีวร ทรงเดิน
ทาง 18 โยชน์ ระหว่างทางทรงพบอาชีวกนักบวชชื่อว่า อุปกะ ทรงบอกแก่เขา
ว่า พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ตอนเย็นวันนั้นนั่นเอง ก็ได้เสด็จถึงป่าอิสิปตนะ
ณ ที่นั้น ทรงประกาศแก่ปัญจวัคคีย์ว่าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า เสด็จประทับ
บนพุทธอาสน์อันดีที่เขาจัดไว้แล้ว ตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์ ทรงแสดงพระ
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร.
บรรดาภิกษุปัญจวัคคีย์ ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ ส่งญาณไป
ตามกระแสเทศนา จบพระสูตรก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมด้วยพรหม 18
โกฏิ พระศาสดาทรงเข้าจำพรรษาในที่นั้นนั่นเอง วันรุ่งขึ้นทรงทำให้พระ-
วัปปเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ด้วยอุบายนี้นี่แล ก็ทรงทำภิกษุเหล่านั้นให้ตั้ง
อยู่ในโสดาปัตติผลหมดทุกรูป รุ่งขึ้นวัน 5 ค่ำแห่งปักษ์ ทรงประชุมพระเถระ
เหล่านั้นแล้ว ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร. จบเทศนา พระเถระทั้ง 5 รูป ก็
ตั้งอยู่ในพระอรหัต.
ครั้งนั้น ในที่นั้นนั่นเอง พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของ ยสกุลบุตร
และเห็นเขาละเรือนออกไปแล้ว จึงตรัสเรียกว่า มานี่แน่ะ ยสะ ทรงทำเขาให้

ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลในตอนกลางคืนนั้นนั่นแล รุ่งขึ้นก็ให้เขาตั้งอยู่ในพระอรหัต
แม้ในวันอื่นอีก ก็ทรงให้ชน 54 คนสหายของยสกุลบุตร บวชด้วยเอหิภิกขุ-
อุปสัมปทาแล้วให้ตั้งอยู่ในพระอรหัต เมื่อเกิดพระอรหันต์ขึ้นในโลก จำนวน
61 รูปอย่างนี้ พระศาสดาทรงออกพรรษาปวารณาแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาแล้วตรัสดังนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเมื่อบำเพ็ญประโยชน์
ตนและประโยชน์ผู้อื่น จงแยกกันไปเที่ยวธรรมจาริก
แก่มนุษย์ทั้งหลายตลอดแผ่นดินผืนนี้.
เมื่อประกาศสัทธรรมของเราแก่โลกเนืองนิตย์
ก็จงอยู่เสียที่ป่าเขาอันสงัด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเมื่อทำหน้าที่พระ-
ธรรมทูต ก็จงปฏิบัติด้วยดีซึ่งคำของเรา สั่งสอนเขา
เพื่อประโยชน์แก่สันติของสัตว์ทั้งหลาย.
พวกเธอไม่มีอาสวะ จงช่วยปิดประตูอบายทั้งสิ้น
เสียทุกประตู จงช่วยเปิดประตูสวรรค์ มรรค และ
ผล.
พวกเธอ จงมีคุณมีกรุณาเป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัย
เพิ่มพูนความรู้และความเชื่อแก่ชาวโลกทุกประการด้วย
การเทศนาและการปฏิบัติ.
เมื่อพวกคฤหัสถ์ ทำการอุปการะด้วยอามิสทาน
เป็นนิตย์ พวกเธอ ก็จงตอบแทนพวกเขาด้วยธรรม-
ทานเถิด.

พวกเธอเมื่อจะแสดงธงชัยของพระฤษีผู้แสวงคุณ
ก็จงยกย่องพระสัทธรรม เมื่อการงานที่พึงทำ ทำเสร็จ
แล้ว ก็จงบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่นเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ก็ทรงส่งภิกษุเหล่านั้นไปใน
ทิศทั้งหลาย ส่วนพระองค์เองก็เสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศ ระหว่างทาง ทรง
แนะนำ ภัททวัคคิยกุมาร 30 คน ที่ราวป่าฝ้าย บรรดากุมารทั้ง 30 คนนั้น
ผู้ใดอ่อนกว่าเขาหมด ผู้นั้นก็เป็นพระโสดาบัน ผู้ใดแก่กว่าเขาหมด ผู้นั้น ก็เป็น
พระอนาคามี แต่แม้สักคนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นปุถุชนไม่มีเลย ทรงยัง
กุมารแม้เหล่านั้นให้บวชด้วยเอหิภิกขุหมดทุกคน แล้วทรงส่งไปในทิศทั้งหลาย
พระองค์เองครั้นเสด็จถึงอุรุเวลาประเทศแล้ว ทรงแสดงปาฏิหาริย์ 1,250 อย่าง
ทรมานชฏิล 3 พี่น้อง มีอุรุเวลากัสสปเป็นต้นพร้อมด้วยบริวารชฏิลพันคน
ทรงให้บวชด้วยเอหิภิกขุแล้ว ให้นั่งประชุมกันที่คยาสีสะประเทศ ให้ตั้งอยู่ใน
พระอรหัต ด้วยเทศนาชื่อว่าอาทิตตปริยายสูตรอันภิกษุอรหันต์พันรูปแวด
ล้อมแล้ว เสด็จไปยังลัฏฐิวนอุทยาน อันเป็นอุปจารแห่งกรุงราชคฤห์ด้วยพุทธ-
ประสงค์จะทรงเปลื้องปฏิญญาแก่พระเจ้าพิมพิสาร ต่อนั้น พนักงานเฝ้าพระ-
ราชอุทยานกราบทูลแด่พระราชา พระราชาทรงสดับว่าพระศาสดาเสด็จมาแล้ว
อันพราหมณ์และคฤหบดี 12 นหุตห้อมล้อม เข้าไปเฝ้าพระทศพล ผู้เป็นดวง
อาทิตย์แห่งพระมุนีผู้ประเสริฐ ซึ่งเสด็จอยู่ในช่องแห่งวนะดุจดวงทิพากรเข้าไป
ในช่องหลืบเมฆ ทรงซบพระเศียรซึ่งโชติช่วงด้วยประกายรุ้งแห่งมงกุฏมณีลง
แทบเบื้องพระยุคลบาทของพระทศพล อันดารดาษด้วยโกมลดอกไม้น่าไร้มลทิน
ไม่วิกล ที่มีพื้นฝ่าพระบาทประดับด้วยจักร แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วน
หนึ่งพร้อมด้วยราชบริพาร.

ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นก็คิดปริวิตกไปว่า พระมหา-
สมณะ ทรงประพฤติพรหมจรรย์ในท่านอุรุเวลกัสสป หรือท่านอุรุเวลกัสสป
ประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทราบความปริวิตกของพราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น จึงได้ตรัสกะพระเถระ
ด้วยพระคาถาว่า
กิเมว ทิสฺวา อุรุเวลวาสิ
ปหาสิ อคฺคึ กิสโกวทาโน
ปุจฉามิ ตํ กสฺสป เอตมตฺถํ
กถํ ปหีนํ ตว อคฺคิหุตฺตํ.

ดูก่อนกัสสป ท่านอยู่อุรุเวลประเทศสั่งสอน
ศิษย์ชฎิลมานาน เห็นเหตุอะไรหรือจึงละการบูชาไฟ
เราถามความนี้กะท่าน ไฉนท่านจึงละการบูชาไฟ.

พระเถระทราบพระพุทธประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวคาถา
นี้ว่า
รูเป จ สทฺเท จ อโถ รเส จ
กามิตฺถิโย จาภิวทนฺติ ยญฺญา
เอตํ มลนฺติ อุปธีสุ ญตฺวา
ตสฺมา น ยิฏฺเฐ น หุเต อรญฺชึ.

ยัญทั้งหลาย สรรเสริญรูป เสียง รส กามและ
สตรีทั้งหลาย. ข้าพระองค์รู้ว่า นั่นเป็นมลทินในอุปธิ
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในยัญ
ในการบูชาไฟ
ดังนี้.

แล้วซบศีรษะลงแทบเบื้องยุคลบาทของพระตถาคตเพื่อประกาศความที่ตนเป็น
สาวก กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นศาสดา
ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก แล้วก็โลดขึ้นสู่อากาศ 7 ครั้ง ประมาณ
ชั่วหนึ่งลำตาล ชั่วสองลำตาล ฯลฯ ชั่วเจ็ดลำตาล ทำปาฏิหาริย์แล้วก็ลงจาก
อากาศ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.
ครั้งนั้น มหาชนเห็นปาฏิหาริย์ของพระเถระนั้นแล้วคิดกันว่า โอ
ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอานุภาพมาก แม้ท่านอุรุเวสกัสสปมีทิฏฐิกล้า
สำคัญตนว่า เป็นอรหันต์ ก็ถูกพระตถาคตทรงทำลายข่ายทิฏฐิทรมานแล้ว ก็
พากันกล่าวสรรเสริญคุณของพระทศพล. พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว
ตรัสว่า มิใช่เราทรมานอุรุเวลกัสสปผู้นี้ในชาตินี้เท่านั้นดอกนะ แม้ในอดีต
ชาติ อุรุเวลกัสสปนี้เราก็ทรมานมาแล้วเหมือนกัน. ครั้งนั้นมหาชนลุกขึ้นจากที่
นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ประคองอัญชลีเหนือศีรษะ กราบทูลอย่าง
นี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาตินี้ ท่านอุรุเวลกัสสปถูกทรมารพวกข้าพระ-
องค์เห็นแล้ว ในอดีตชาติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรมานอย่างไร พระเจ้าข้า.
แต่นั้น พระศาสดาอันมหาชนนั้นทูลวอนแล้ว จึงตรัสมหานารทกัสสปชาดก
ซึ่งระหว่างภพปกปิดไว้แล้วทรงประกาศอริยสัจ 4. พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับ
ธรรมกถาของพระศาสดา ทรงดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมกับราชบริพาร
11 นหุต. 1 นหุตประกาศตนเป็นอุบาสก. พระราชาทรงถึงสรณะแล้วนิมนต์
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงทำประ-
ทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้าสามครั้ง แล้วถวายบังคมเสด็จกลับ.
วันรุ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้า อันภิกษุพันรูปแวดล้อมแล้วเสด็จเข้า
ไปยังกรุงราชคฤห์เสมือนท้าวสหัสนัยน์เทวราชอันหมู่เทพห้อมล้อมแล้ว เสมือน

ท้าวมหาพรหม อันหมู่พรหมห้อมล้อมแล้ว. พระราชาถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประธาน เสร็จเสวยแล้ว ก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่อาจจะอยู่เว้นพระไตรรัตน์ได้. ข้าพระองค์
จะมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาบ้าง ไม่ใช่ในเวลาบ้าง ชื่อว่าอุทยานลัฏฐิวัน
ก็อยู่ไกลเกินไป. ส่วนอุทยานชื่อว่าเวฬุวันของข้าพระองค์นี้ สำหรับผู้ต้องการ
วิเวก ไม่ไกลนักไม่ใกล้นัก พรั่งพร้อมด้วยทางคมนาคม ไร้ผู้คนเบียดเสียด
สงัดสุข พร้อมด้วยร่มเงาและน้ำ ประดับพื้นศิลาเย็น เป็นภูมิภาคน่ารื่นรมย์
อย่างยิ่งมีต้นไม้อย่างดีมีดอกหอมกรุ่นชั่วนิรันดร์ ประดับประดาด้วยปราสาท
ยอดปราสาทโล้น วิหาร ดุจวิมานเรือนมุงแถบเดียว มณฑปเป็นต้น. ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้า โปรดทรงรับอุทยานเวฬุวันนี้ของข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า
แล้วทรงถือน้ำมีสีดังแก้วมณีอันอบด้วยดอกไม้กลิ่นหอมด้วยพระเต้าทอง เสมือน
ถ่านร้อนใหม่ เมื่อทรงบริจาคพระเวฬุวนาราม ก็ทรงหลั่งน้ำลงเหนือพระหัตถ์
ของพระทศพล. ในการรับพระอารามนั้น มหาปฐพีนี้ก็ตกสู่อำนาจปีติว่า ราก
ของพระพุทธศาสนา หยั่งลงแล้ว ก็ไหวราวกะฟ้อนรำ. ธรรมดาเสนาสนะอื่น
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้วทำให้แผ่นดินไหว เว้นพระเวฬุวันมหาวิหาร
เสียไม่มีเลยในชมพูทวีป. ครั้งนั้น พระศาสดาทรงรับพระเวฬุวนารามแล้วได้
ทรงทำอนุโมทนาวิหารทาน
อาวาสทานสฺส ปนานิสํสํ
โก นาม วตฺถํ ปุริโส สมตฺโถ
อญฺญตฺร พุทฺธา ปน โลกนาถา
ยุตฺโต มุขานํ นหุเตน จาปิ.

นอกจากพระพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะของโลก ปาก
คน 1 นหุต บุรุษไรเล่าผู้สามารถจะกล่าวอานิสงส์ของ
การถวายที่อยู่อาศัยได้.

อายุญฺจ วณฺณญฺจ สุขํ พลญฺจ
วรํ ปสตฺถํ ปฏิภาณเมว
ททาติ นามาติ ปวุจฺจเต โส
โย เทติ สงฺฆสฺส นโร วิหารํ.
นรชนใด ถวายที่อยู่แก่สงฆ์ นรชนนั้น ท่าน
กล่าวว่า ชื่อว่าให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิ-
ภาณอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว.
ทาตา นิวาสสฺส นิวารณสฺส
สีตาทิโน ชีวิตุปทฺทวสฺส
ปาเลติ อายุํ ปน ตสฺส ยสฺมา
อายุปฺปโท โหติ ตมาหุ สนฺโต.
เพราะเหตุที่ผู้ถวายที่อยู่อาศัย อันป้องกันอุปัทวะ
แห่งชีวิตมีความเย็นเป็นต้น ย่อมรักษาอายุของเขาไว้
ได้ ฉะนั้น สัตบุรุษทั้งหลายจึงเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้
ให้อายุ.
อจฺจุณฺหสีเต วสโต นิวาเส
พลญฺจ วณฺโณ ปฏิภา น โหติ
ตสฺมา หิ โส เทติ วิหารทาตา
พลญฺจ วณฺณญฺจ ปฏิภาณเมว.
พละ วรรณะ และปฏิภาณย่อมจะไม่มีแก่ผู้อยู่ใน
ที่อยู่อาศัยอันร้อนจัดเย็นจัด เพราะฉะนั้นแล ผู้ถวาย
วิหารที่อยู่นั้นจึงชื่อว่าให้พละ วรรณะ และปฏิภาณ
ทีเดียว.


ทุกฺขสฺส สีตุณฺหสิรึสปา จ
วาตาตปาทิปฺปภวสฺส โลเก
นิวารณาเนกวิธสฺส นิจฺจํ
สุขปฺปโท โหติ วิหารทาตา.
ผู้ถวายวิหาร ย่อมชื่อว่าให้สุขเป็นนิตย์ เพราะ
ป้องกันทุกข์มากอย่างที่เกิดแต่เย็นร้อนสัตว์เลื้อยคลาน
ลม แดดเป็นต้นในโลก.
สีตุณฺหวาตาตปฑํสวุฏฺฐิ
สิรึสปาวาฬมิคาทิทุกฺขํ
ยสฺมา นิวาเรติ วิหารทาตา
ตสฺมา สุขํ วินฺทติ โส ปรตฺถ.
เพราะเหตุที่ผู้ถวายวิหาร ย่อมป้องกันทุกข์มีเย็น
ร้อน ลม แดด เหลือบฝน สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ร้าย
เป็นต้นได้ ฉะนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า ได้สุขในโลกหน้า.
ปสนฺนจิตฺโต ภวโภคเหตุํ
มโนภิรามํ มุทิโต วิหารํ
โย เทติ สีลาทิคุโณทิตานํ
สพฺพํ ทโท นาม ปวุจฺจเต โส.
ผู้ใดมีจิตเลื่อมใส บันเทิงแล้วถวายวิหารอันเหตุ
แห่งภพและโภคะที่น่ารื่นรมย์ยิ่งแห่งใจ แก่ท่านผู้มี
คุณมีศีลเป็นต้นอันเกิดแล้ว ผู้นั้นท่านเรียกชื่อว่าผู้ให้
ทุกอย่าง.

ปหาย มจฺเฉรมลํ สโลภํ
คุณาลยานํ นิลยํ ททาติ
ขิตฺโตว โส ตตฺถ ปเรหิ สคฺเค
ยถาภตํ ชายติ วีตโสโก.
ผู้ใดละมลทินคือตระหนี่ พร้อมทั้งโลภะ ถวาย
วิหาร แก่เหล่าท่านผู้มีคุณเป็นที่อยู่อาศัย ผู้นั้น ก็เป็น
เหมือนถูกผู้อื่นโยนไปในสวรรค์นั้น ย่อมเกิดเป็นผู้
ปราศจากความเศร้าโศกถึงสมบัติที่รวบรวมไว้.
วเร จารุรูเป วิหาเร อุฬาเร
นโร การเย วาสเย ตตฺถ ภิกฺขู
ทเทยฺยนฺนปานญฺจ วตฺถญฺจ เนสํ
ปสนฺเนน จิตฺเตน สกฺกจฺจ นิจฺจํ.
นรชนสร้างวิหารทองประเสริฐเลิศโอฬารนิมนต์
ภิกษุทั้งหลายอยู่ในวิหารนั้น พึงถวายข้าวน้ำและผ้า
แก่ภิกษุเหล่านั้นด้วยจิตที่เลื่อมใส โดยเคารพเป็นนิตย์.
คสฺมา มหาราช ภเวสุ โภเค
มโนรเม ปจฺจนุภุยฺย ภิยฺโย
วิหารทานสฺส ผเลน สนฺตํ
สุขํ อโสกํ อธิคจฺฉ ปจฺฉา.
ถวายพระพร เพราะฉะนั้น มหาบพิตรจะเสวย
โภคะที่น่ารื่นรมย์ใจในภพทั้งหลายยิ่งขึ้นไป ด้วยผล
แห่งวิหารทาน ภายหลังจงทรงประสบธรรมอันสงบ
สุข ไม่เศร้าโศกแล.

พระจอมมุนี ครั้นทรงทำอนุโมทนาวิหารทานแก่พระเจ้าพิมพิสาร
จอมนรชนประการดังนี้อย่างนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะอันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว
เมื่อทรงทำนครให้เป็นวนวิมานเป็นต้น ด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระของพระ-
องค์ที่น่าทอดทัศนาอย่างยิ่ง ประหนึ่งเลื่อมพรายที่เกิดแต่รดด้วยน้ำทอง เสด็จ
เข้าสู่พระเวฬุวันมหาวิหาร ด้วยพระพุทธลีลา หาที่เปรียบมิได้ด้วยพระพุทธสิริ
ที่ไม่มีสิ้นสุดแล.
อกีฬเน เวฬุวเน วิหาเร
ตถาคโต ตตฺถ มโนภิราเม
นานาวิหาเรน วิหาสิ ธีโร
เวเนยฺยกานํ สมุทิกฺขมาโน.

พระตถาคตจอมปราชญ์ ประทับอยู่ ณ พระเวฬุ-
วันวิหาร ซึ่งมิใช่เป็นที่เล่น แต่น่ารื่นรมย์ยิ่งแห่งใจนั้น
ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ต่าง ๆ ทรงคอยตรวจดูเวไนย-
สัตว์ทั้งหลาย.


พระพุทธบิดาเชิญเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์



เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่พระเวฬุวันวิหารนั้น พระเจ้า
สุทโธทนะมหาราชทรงสดับว่า โอรสเรา ทำทุกกรกิริยา 6 ปี บรรลุอภิสัมโพธิ-
ญาณอย่างเยี่ยม ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จถึงกรุงราชคฤห์
ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงเรียกมหาอมาตย์ผู้หนึ่งมาตรัสสั่งว่า
พนายมานี่แน่ะ เจ้าพร้อมบุรุษพันหนึ่งเป็นบริวาร จงไปกรุงราชคฤห์ พูดตาม
คำของเราว่า พระเจ้าสุทโธทนะมหาราชบิดาท่านมีประสงค์จะพบท่าน แล้วจง
พาโอรสของเรามา.